วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลง สวมเขา^^




                 เนื้อเพล : สวมเขา
                 ศิลปิน : เเพรว จิระวรรณ สอนสะอาด
หัวใจที่บาง บาง มันสลายลงในพริบตา
 เมื่อได้รู้ว่า เธอและเขามีอะไรกัน
ไม่เคยคิดระแวง หวาดกลัว
 ว่าคนใกล้ตัวที่สำคัญ
   จะเอามีดกรีดกลางหลัง
ให้ช้ำแทบปางตาย

ต่อหน้าฉันแกล้งทำ เหมือนไม่มีอะไร

ทำเหมือนคนที่สนิทใจ ไปตามน้ำ
แต่ลับหลังกลับทำทุกอย่าง ที่ใจต้องการ
นำพาความร้าวราน สู่ใจฉัน

เหมือนหัวใจจะขาดรอนๆ

ตอนเห็นเธอกอดเขา
โอ้ย มันเจ็บไม่เบา อยากดิ้นตาย
ไม่คิดว่าคนที่อยู่ใกล้ตัว
จะร่วมมือกันลอบทำร้าย
และพร้อมใจ เอาเขาควายมาเสียบหัว

เหมือนโดนหนามแหลมแทงที่ตรงกลางหัวใจ

เรี่ยวแรงมันหมดไป เมื่อได้เห็นภาพตำตา
ไม่คิดว่าเขาและเธอจะทำ ให้ฉันต้องนองน้ำตา
ไม่คิดว่าคนในสายตา ทำกันได้ลง

ต่อหน้าฉันแกล้งทำ เหมือนไม่มีอะไร

ทำเหมือนคนที่สนิทใจ ไปตามน้ำ
แต่ลับหลังกลับทำทุกอย่าง ที่ใจต้องการ
นำพาความร้าวราน สู่ใจฉัน

เหมือนหัวใจจะขาดรอนๆ

ตอนเห็นเธอกอดเขา
โอ้ย มันเจ็บไม่เบา อยากดิ้นตาย
ไม่คิดว่าคนที่อยู่ใกล้ตัว
จะร่วมมือกันลอบทำร้าย
และพร้อมใจ เอาเขาควายมาเสียบหัว

เหมือนหัวใจจะขาดรอนๆ

ตอนเห็นเธอกอดเขา
โอ้ย มันเจ็บไม่เบา อยากดิ้นตาย
ไม่คิดว่าคนที่อยู่ใกล้ตัว
จะร่วมมือกันลอบทำร้าย
และพร้อมใจ เอาเขาควายมาเสียบหัว

เนื้อเกี่ยวกับเพลง : เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเเสดงถึงความเจ็บปวดของผู้หญิง แสดงถึงความอดทน ที่โดนผู้ชายที่เป็นที่รักสวม เขาให้โดนการนอกใจ ทำให้รู้สึกว่า ไม่ว่าเราจะรักกันขนาดไหน คบกันมานานแค่ไหน หรือถึงขั้นเเต่งงานกันเเล้วก็ตาม ความรู้สึกก็สามารถเปลี่ยนใจคนได้ 
เหตุผลที่ชอบเพลงนี้ : เป็นเพลงที่มีดนตรีฟังสบายๆ เนื้อเพลงมีความหมายที่ดี ให้ข้อคิดว่าเวลาจะมีแฟนเราความที่จะซื้อสัตย์ต่อคนรัก ไม่ทำให้คนที่เรารักต้องเสียใจ ทำให้เข้าใจความรักมากยิ่งขึ้นฟังเเล้วรู้สึกผ่อนคลายชอบมากๆเลยค่ะ:)

ขอขอบคุณ : เนื้อเพลง  http://www.siamzone.com
                   : วีดีโอ        http://www.youtube.com/watch?v=KwA99_vmQd8
                


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"ข่าวไอซีที"

 

HOT !!  "ไอซีที" จัดฟรี Wifi  1.5 แสนจุดทั่วประเทศ 

 
 
 
 
         "ไอซีที" หนุนทีโอที ติดตั้งฟรีไวไฟ 1.5 แสนจุดทั่วประเทศ คาดยอดผู้ใช้งานกว่า 7.5 ล้านคนต่อปี ด้วยความเร็ว 2 Mbps พร้อมเปิดให้บริการไตรมาส 4 นี้
 
         เมื่อวันที่ 9 ส.ค. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เดินหน้าโครงการ ไอซีที ฟรี ไว-ไฟ บาย ทีโอที (ICT Free Wi-Fi by TOT) ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ตามกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ.2554–2563 (ICT 2020) ในการส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะ สนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
        โดยโครงการนี้ ทีโอทีได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 950 ล้านบาท เพื่อขยายจุดติดตั้งให้บริการ 3 หมื่นแห่งทั่วประเทศ โดยติดตั้งแอคเซสพ้อยซ์ (Access point) 1.5 แสนจุด ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 4/2556 ติดตั้งจุดให้บริการครบ 1.5 แสนจุด ภายในปี 2557 และผู้ใช้บริการประมาณ 7.5 ล้านคนต่อปี
        ทั้งนี้ ตั้งเป้าให้บริการฟรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ 78 แห่ง ศาลากลางจังหวัด-ที่ว่าการอำเภอ-ที่ทำการ อบต. 6,720 แห่ง ชุมชน 1,100 แห่ง โรงพยาบาลของรัฐ 864 แห่ง สถานีตำรวจ 1,738 แห่ง ที่ทำการไปรษณีย์ 4,500 แห่ง สถานที่สำคัญต่างๆ 1.5 หมื่นแห่ง

        รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า ก่อนหน้าไอซีที ให้บริการ ICT Free Wi-FI อยู่จำนวน 1.2 แสนจุด เป็นความร่วมมือของ 7 องค์กร ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทีโอที เอไอเอส ทรูมูฟเอช ดีแทค 3BB และ กสทช.

        ทางด้าน นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ขณะนี้ ติดตั้งไปแล้วกว่า 1 หมื่นจุด จากทั้งหมด 3 หมื่นจุด และจะมี Access point ทั้งหมด 1.5 แสนจุด ครอบคลุมประชากรประมาณ 10 ล้านคน มีความเร็วในการใช้งาน 2 เมกะบิท (Mbps) ต่อ Access point สามารถใช้งานพร้อมกันได้ไม่เกิน 15 คน ครั้งละ 20 นาที 2 ชั่วโมงต่อวัน อายุการใช้งาน 6 เดือน โดยใช้เลขบัตรประชาชนในการเปิดใช้งาน ส่วนชาวต่างประเทศ สามารถใช้เลขที่หนังสือเดินทางลงทะเบียนใช้งานได้.
 
 
 
 
อ้างอิง : ไทยรัฐออนไลน์  9 สิงหาคม 2556 เวลา 15.03น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thairath.co.th/content/tech/362489
 
 

 
 

 

 

 

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Moore"s law

Moore"s law



กฎของมัวร์ คือ  กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกสองปี  moore's law  เป็น  ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน  แผงวงจรรวม  มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้น  มัวร์เคยคาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้  ในปีถัดไป การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย   แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือนกอร์ดอน มัวร์  เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ ขึ้นซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม



ในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที่ ประดิษฐ์ขึ้นมาว่า"ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ 



พ.ศ. 2508  อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย  มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น  มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม  การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์  เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ   planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ  เทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์


ขอขอบคุณข้อมูลเเละรูปภาพจาก





บิตตรวจสอบ


บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

             เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น เเต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้ตรวจสอบความเเม่นยำและความถูกต้อง
           
             สำหรับบิตตรวจสอบ มีการตรวจสอบ 2 วิธี คือ
1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
            เช่น 1001 0010  เติม 1
2.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Odd Parity)
            เช่น 1001 0010  เติม 0

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล

^^รหัสแทนข้อมูล^^


-รหัส Ascll
เรียกอีกอย่างว่า "รหัสมาตราฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการเเลกเปลี่ยนสารสนเทศ"
(American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111)
                 โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจดจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนในรูปของเลขฐานสิบหกได้อีกด้วย






-รหัส Unicode
                เป็นรหัสมาตราฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกันยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8(ใช้ 1 ไบต์ สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น)
                  ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่เเสวงผลกำไรเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์
                  ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟเเวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวาดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการใหม่สมัยใหม่

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก

  แบบฝึกหัด
จงบอกว่า ชื่อ-สกุล ที่เป็นภาษาอังกฤษ(พิมพ์ใหญ่) แทนด้วยรหัส Ascll ใดบ้าง มีขนาดกี่ไบต์
            
 TANAWAN VETCHAPHAN
แทนด้วยรหัส Ascll

 TANAWAN  
 T = 01010100 
 A = 01000001
 N = 01001110
 A = 01000001
W = 01010111
 A = 01000001
 N = 01001110

         01010100 01000001 01001110 01000001 01010111 01000001 01001110 
 VETCHAPHAN
 V = 01010110
  E = 01000101
 T = 01010100
 C = 01000011
 H01001000
 A = 01000001
 P = 01010000
 H = 01001000
 A = 01000001
 N = 01001110

         01010110 01000101 01010100 01000011 01001000  01000001 01010000 01001000 01000001 01001110

 TANAWAN VETCHAPHAN
                010101000100000101001110010000010101011101000001010011100100000001010110010001010101010001000011010010000100000101010000010010000100000101001110

มีขนาด 18 ไบต์ค่ะ :) 


   

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์^^


"ยุคของคอมพิวเตอร์"


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (The First Generation)
         เริ่มจากปี ค.ศ. 1951 - 1958 ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นหน่วยประมวลผลกลาง โดยมีดรัมเเม่เหล้ก (Magnetic Drum) เป็นหน่วยความจำหลัก และใช้บัตรเจาะรู เทปกระดา เป็นหน่วยความจำสำรอง ยุคนี้ไม่มีโปรเเกรมระปฏิบัติการ (Operating System) เมื่อใช้งานรไประยะหนึ่งความร้อนจะสูงมาก อาจส่งผงใหเหลอดสูญญากาศระเบิดได้ จึงจำเป็นจะต้องติดตั้งไว้ในห้องที่มีอูณหภูมิต่ำมากๆเป็นวงจรสำคัญในการทำงาน นับเป็นยุคเริ่มต้นที่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พึ่งก่อเกิด คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่   UNIVAC และ  ENIAC




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (The Second Generation) 
        ในปี ค.ศ. 1947 นักวิทยาศาสตร์ท่ศูนย์เบลล์เเล็บ ได้ค้นพบอุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistors) เพื่อทดแทนหลอดสูญญากาศ เป็นสวิตช์ที่มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ประมวลผลรวดเร็ว หน่วยความจำหลักที่ใช้ในยุคนี้คือ วงแหวนเเม่เหล้ก (Magnetic Core) เเละใช้บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสำรอง ในยุคนี้มีการใช้จานดิสก์ ระบบปฏิบัติการใช้เเบบประเมินผลเชิงกลุ่ม (Batch Processing) มีการใช้ภาษาสัญลักษณ์ และรวมถึงมีการเริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (The Third Generation)
       ในระหว่างปี ค.ศ. 1960 ได้มีการค้นพบ เทคโนโลยีโซลิดสเตต (Solid-State)
       ในปี ค.ศ. 1964 บริษัท IBM ก็ได้สร้างเครื่อง System 360 ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ไอซี จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็ก เป็นที่มีของ Minicomputer มีการใช้ภาษาระดับสูง มีการใช้ตัวแปลภาษา หน่วยความจำหลักเเละหน่วยความจำรองยังใช้เเบบยุคที่ 2 ระบบปฏิบัติการเป็นเเบบมัลติโปรเเกรมมิ่งและระบบเเบ่งเวลา แต่ระบบปฏิบัติการในยุคนี้ประสิทธิภาพการทำงานจยังไม่ดีนัก



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (The Fourth  Generation)
        ปี ค.ศ.1970 ได้มีการค้นพบวิธี การนำทรานซิสเตอร์หลายพันตัวมาบรรจุลงในชิปซิลิคอน หรือไอซีเพียงตัวเดียว และต่อมาในปี ค.ศ.1975 คอมพิวเตอร์เครื่องเเรกที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ได้ถูกสร้างขึ้น ซึ่งเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องเเรก ในยุคนี้ไมโครคอมพิวเตอร์ได้มีการเเพร่หลายมาก จนกระทั่งแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ได้ทำการสร้าง เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิ้ล มีการออกแบบที่ดีโดยมีเคสซีพียูแยกออกไป ดิสก์ไดร์ฟติดตั้งอยู่ภายในเคส คียบอร์ดเเยกออกและนับจากนั้น IBM-PC ก็ได้เป็นรูปแบบมาตรฐานของไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงทุกวันนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (The Fifth Generation)
        ในปี ค.ศ.1979บริษัทโมโตโรลา ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ รุ่น MC68000ได้บรรจุทรานซิสเตอร์ได้ถึง 68,000ชิ้น และไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายได้ใช้ชิปดังกล่าว เป็นตัวประมวลผล ชิปนี้มีความสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้เป็นพันล้านชิ้น ยุคนี้จัดเป็นยุคปัจจุบัน ใช้กับงานด้านฐานความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบปัญญาประดิษฐ์



ขอขอบคุณข้อมูลเเละรูปภาพจาก
      ใบความรู้ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(อ.พัลลภา)